อินเดีย-ไทย ใกล้ชิดกันกว่าที่คุณคิด (ตอนที่ 1)
อินเดีย-ไทย ใกล้ชิดกันกว่าที่คุณคิด (ตอนที่ 1)
ถ้าจะพูดถึงสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างไทยกับประเทศใดประเทศหนึ่ง คนไทยร้อยทั้งร้อย
ก็ต้องนึกถึงจีนเป็นอันดับแรก เหมือนอย่างที่มีคำพูดว่า จีน-ไทย ไม่ใช่อื่นไกล พี่น้องกัน แต่เราอาจลืมนึกถึงอารยธรรมอีกฟากฝั่ง ที่ไทยได้รับอิทธิพลมาไม่น้อยกว่าจีนเลย
ก็ต้องนึกถึงจีนเป็นอันดับแรก เหมือนอย่างที่มีคำพูดว่า จีน-ไทย ไม่ใช่อื่นไกล พี่น้องกัน แต่เราอาจลืมนึกถึงอารยธรรมอีกฟากฝั่ง ที่ไทยได้รับอิทธิพลมาไม่น้อยกว่าจีนเลย
จริงๆ แล้ว มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของเรา ตั้งแต่เกิดจนตาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไทยรับมาจากอินเดีย นำมาผสมกลมกลืนจนกลายเป็นวัฒนธรรมไทย อย่างที่เราอาจนึกไม่ถึง
ภาษาเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด ไม่น่าจะผิด ถ้าจะบอกว่า 30-40% ของภาษาไทยที่เราใช้พูด อ่าน เขียน กันอยู่ ได้มาจากภาษาสันสกฤตและบาลีของอินเดีย
มีเพื่อนที่มาเที่ยวอินเดีย และได้พบกับชาวอินเดียหลายคน ที่พอรู้ชื่อแล้ว รู้สึกแปลกใจว่า
ทำไมชื่อเหมือนคนไทย ไม่ว่าจะเป็น มาโนช วิษณุ สุนทร เปรม ปรียา พรนภา สาวิตรี ภาวนา กรุณา ศศิธารา ขอบอกว่า ชื่อชาวอินเดียเหล่านี้ ไม่ได้เหมือนชื่อไทย แต่ชื่อคนไทยต่างหาก ที่ใช้ภาษาสันสกฤตของอินเดีย
ภาษาสันสกฤต ซึ่งมีความหมายว่า “สิ่งที่ได้จัดระเบียบและขัดเกลาไว้ดีแล้ว” มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย ตั้งแต่สมัยชาวอารยันเข้ามาในดินแดนชมพูทวีป เมื่อ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล และใช้เป็นภาษาในคัมภีร์พระเวทของพวกพราหมณ์ จึงถือเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ของคนชั้นสูง ต่อมานักปราชญ์อินเดียที่ได้ศึกษาคัมภีร์พระเวทได้มาจัดระเบียบและเรียบเรียงเป็นไวยากรณ์ แต่ภาษาสันสกฤตก็ไม่ได้เป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเดียในเวลาต่อมา เพราะความที่ไวยากรณ์มีรายละเอียดซับซ้อนมาก
ในขณะที่พวกพราหมณ์และชนชั้นสูงในสังคมในขณะนั้นใช้ภาษาสันสกฤต ภาษาบาลีซึ่งมีถิ่นกำเนิดที่แคว้นมคธ ได้ถูกใช้โดยชาวมคธ และพระพุทธเจ้าก็ได้ทรงใช้ภาษาบาลีในการประกาศพุทธศาสนาด้วย
ภาษาบาลีที่ใช้ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นภาษาที่พระสงฆ์ใช้อยู่ แต่ก็มีใช้ในภาษาไทยด้วย
วิธีสังเกต คือ คำที่มีอักษรตาม เช่น จักร สัจจ ทุกข์ หรือคำที่มี ฬ เช่น จุฬา โอฬาร คำพวกนี้ เป็นภาษาบาลี ส่วนภาษาสันสกฤตก็สอดแทรกอยู่ในภาษาไทยจำนวนมาก และยังสืบธรรมเนียมของการเป็นภาษาชั้นสูง โดยคำราชาศัพท์ในปัจจุบัน ล้วนเป็นภาษาสันสกฤตทั้งนั้น
นักอักษรศาสตร์ที่พอจะมีพื้นความรู้ทางภาษา เมื่อได้มาเที่ยวอินเดีย ก็จะเข้าใจได้ว่า ภาษาอินเดียที่ได้ยินได้ฟังนั้น หลายๆ คำ เดาได้ไม่ยากเลย เพราะคล้าย หรือเหมือนภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่เป๊ะๆ และจะสนุกไปกับการสนทนากับภารตะมิตร
ภารตะซึ่งเป็นคำที่เราใช้เรียกอินเดีย มาจากภาษาสันสกฤษ บหรัต-Bharat หมายถึงประเทศอินเดีย และคงจะเพี้ยนเป็น พาหุรัด ชื่อย่านการค้าในกรุงเทพฯ ถิ่นชาวอินเดียที่เราคุ้นเคยกันดีนั่นเอง
เลข 1-10 ของอินเดียออกเสียงว่า เอก โด ตีน (ไม่ได้หมายถึงบาทา) จาร ปาญจ เฉห สาต อาฐ นอ ดัส เมื่อกลายเป็นภาษาไทยและออกเสียงแบบไทยก็คือ เอก โท ตรี จตุ ปัญจ (ปัญจนที) ฉ (อ่านว่า ฉอ เช่น ฉกษัตริย์ แปลว่ากษัตริย์องค์ที่ 6) สัตต (เช่น สัตตบงกช) อัษฎ (เช่นในคำว่า อัษฎางคประดิษฐ์) นพ (เช่น นพเก้า) ทศ (เช่น ทศวรรษ) แม้แต่เลขศูนย์ อินเดียก็เรียกว่าศูนย์
และอ้างว่า อินเดียเป็นผู้ค้นคิด แต่เรื่องนี้ ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ ชาวอาหรับเองก็อ้างว่าเป็นผู้คิดทฤษฎี absolute zero หรือศูนย์สมบูรณ์
อินเดียเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญสูงสุดกับสถาบันครอบครัว แม่ อินเดียเรียกว่า มาตา หรือมารดา ในภาษาไทย เป็นผู้ที่ได้รับการเคารพสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจพันล้าน นักการเมืองมีอำนาจ หรือนักวิชาการทรงภูมิ แต่ถ้าอยู่ในบ้าน แม่เป็นใหญ่เสมอ พ่อ อินเดียเรียกว่า ปิตา หรือบิดา ในภาษาไทย สัมมา แปลว่าเคารพ คนไทยเติมคำว่าคารวะ เป็น สัมมาคารวะ
การแต่งงาน อินเดียเรียกว่า วิวาห ออกเสียงว่า วิ-วา-หะ เป็นเรื่องสำคัญของชีวิต คนอินเดียจัดงานแต่งงานแบบอลังการงานสร้าง ยิ่งถ้าเป็นงานแต่งของคนรวยแล้วล่ะก็ ฉลองกัน 7 วัน 7 คืน ใช้เงินเป็นหลัก 10 ล้าน ร้อยล้าน ซึ่งเป็นเรื่องดีสำหรับไทย ที่ปัจจุบัน เศรษฐีอินเดียนิยมจัดงานแต่งงานให้ลูกสาวลูกชายที่เมืองไทย ทำรายได้ให้เราเป็นกอบเป็นกำ ให้ กับ ออกาไนซ์ เพราะแต่ละครั้งในการจัดงาน ชาวอินเดียจะใช้งบ การแต่งงาน ไม่ต่ำกว่า 3ล้าน บาท แน่ๆ ให้พอเห็นช่องทาง ใครพอเห็นโอกาสใหม่ ๆ ก้ รีบจับจองปรองดองกับอินเดียไว้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์มากต่อเศรษฐกิจการค้าในบ้านเรา รู้ก่อน รวยก่อน
Cr. ข้อมูลจาก ศศิริทธิ์ ตันกุลรัตน์
#การบรรลุมรรคผลวิมุตติความหลุดพ้นการเกิดอริยมรรค #คาถาธรรมบทภาษาไทยฉบับสมบูรณ์#กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาท่านอาจารย์มากครับที่กรุณาให้โอกาส#ในพระสูตรบอกว่าอาโลโกอุทะปาทิแสงสว่างเกิดขึ้น#ตอนที่เกิดมรรคนี่สิ่งที่ห่อหุ้มตัวผู้รู้อยู่จะแตกออก #ที่หลวงปู่ดูลย์เรียกว่าจิตยิ้มฉะนั้นจิตยิ้มนี่เกิดกับบางคนนะบางคนจิตไม่ยิ้ม #จิตแค่อมยิ้มเฉยๆ #บางคนจิตยิ้มอย่างแรงเลยจิตสงบสันติอันนั้นเป็นอุเบกขา #เกิดได้ทั้ง๒แบบเกิดชั่วขณะจิตเดียว
ตอบลบ